โรคดึงผม เป็นอย่างไร

โรคดึงผม

ปัญหาการดึงผมตัวเองเป็นปัญหาที่หลายคนกังวลใจว่าเกิดจากอะไร รักษาได้ไหม ภาวะดึงผมตัวเองพบมากขึ้นในปัจจุบันพบมากในวัยรุ่น อาจจะเป็นทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว มาพบอีกครั้งคือมี ผมบาง ผมแหว่ง หัวล้าน ไปแล้ว วันนี้จะพามารู้จักภาวะโรคดึงผมตัวเองว่าเป็นอย่างไรกันค่ะ



ทำความรู้จัก “โรคดึงผมตัวเอง”

โรคดึงผมตัวเอง หรือ Trichirillomania คือ ภาวะหนึ่งที่เกิดทั้งโดยไม่รู้ตัว และรู้ตัว โดยมีพฤติกรรมชอบดึงผมตัวเอง อาจจะเกิดเริ่มจากด้านที่มือถนัดก่อน ถ้าตรวจดูจะเห็นผมเป็นตอยาวไม่เท่ากัน ขอบเขตไม่ชัดเจน โดยการดึงผมนั้นช่วยให้ผู้ดึงรู้สึกผ่อนคลาย หรือบางคนมีอาการตอนที่มีความเครียด หรือความวิตกกังวล หรือบางคนรู้สึกดีเวลาจับผมแล้วดึงออกมาโดยไม่รู้สึกตัว ภาวะนี้อาจจะเกิดได้ตั้งแต่เด็ก หรือวัยรุ่น และผู้ใหญ่ก็พบได้ 

โดยโรคดึงผมตัวเองอาจจะพอแบ่งได้เป็นแบบ

  1. ดึงผมตัวเองแบบรู้ตัว (Focused) คือ คนไข้รู้ตัวว่ากำลังดึงผม และรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้จับหรือดึงผมตัวเอง
  2. ดึงผมตัวเองแบบไม่รู้ตัว (Automatic) คือคนไข้ไม่รู้ตัวว่าดึงผม อาจจะทำไปตอนที่อาการเครียด หรือวิตกกังวล ไม่มั่นใจ มาพบอีกครั้งคือตรวจพบหย่อมที่มีผมแหว่ง หรือสั้นยาวไม่เท่ากัน

สาเหตุของโรคดึงผมตัวเอง

สาเหตุของโรคดึงผม เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคดึงผมตัวเอง

โรคดึงผมนั้นยังไม่มีสาเหตุการเกิดอย่างชัดเจน แต่มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากกรรมพันธุ์หรือสภาพแวดล้อม และความเครียด ภาวะย้ำคิดย้ำทำ

1. พันธุกรรม 

พบว่าถ้ามีประวัติคนในครอบครัวดึงผมตัวเอง หรือมีภาวะวิตกกังวล หรือภาวะย้ำคิดย้ำทำ ก็อาจจะมีโอกาสเกิดโรคดึงผมตัวเองมากขึ้น

2. อายุ และ เพศ

ในวัยรุ่น และ ผู้ใหญ่ มีโอกาสการเกิดภาวะนี้มากขึ้นเนื่องจากเป็นวัยที่มีความเครียดต้องมีการปรับตัวสูง ดังนั้นจึงโอกาสจะเกิดภาวะดึงผมตัวเองได้ แต่ในวัยเด็กก็พบได้เช่นกัน 

เพศหญิงก็มีโอกาสเกิดโรคดึงผมตัวเองมากกว่าเพศชาย เพราะอิทธิพลของฮอร์โมน มีบางรายงานว่าคนไข้มักมีอาการดึงผมกำเริบช่วงมีรอบเดือน

3. ความผิดปกติอื่นๆ 

ภาวะหรือโรคทางจิตเวช หรือทางจิตใจหลายๆโรคพบว่ามีภาวะดึงผมตัวเองร่วมด้วย ซึ่งอาจจะพบในภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • ช่วงที่มีความเครียด 
  • ภาวะสมาธิสั้น

อาการของโรคดึงผมตัวเอง 

อาการของโรคดึงผม
อาการของโรคดึงผมตัวเอง
  • ดึงผมตัวเองซ้ำๆที่เดิม โดยรู้สึกสบายใจเมื่อได้จับหรือดึงผม
  • ไม่สามารถหยุดการดึงผมตัวเองได้ หรือจะมีความเครียดมากขึ้นถ้าไม่ได้ดึงผม
  • นอกจากดึงผมที่ศีรษะบางคนที่ดึงขนคิ้ว ขนตา ขนหนวด หรือขนตามตัวได้ด้วย
  • บางคนมีอาการชอบกินผมตัวเองเข้าไป อาจจะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร หรือมีรายงานลำไส้อุดตันได้
  • บางรายอาจจะมาด้วยผมบางเป็นหย่อมๆ หรือต่อผมไม่เท่ากัน
  • บางคนดึงแรงจนเกิดการอักเสบหรือเป็นรอยแกะเกาทำให้เกิดแผลตามมาได้
  • บางรายมาด้วยไม่อยากออกไปเจอผู้คนเพราะรู้สึกผมบางลง

โรคดึงผม ต้องพบแพทย์ไหม

อาการดึงผมเป็นอาการทางจิตเวชอย่างหนึ่ง และอาจจะมีภาวะอื่นที่เราต้องตรวจพูดคุยอย่างละเอียด เช่นคนไข้อาจจะมีภาวะความเครียด ภาวะซึมเศร้า โดยที่เขาอาจจะยังไม่รู้ตัว ดังนั้นหมอแนะนำพบกับคุณหมอจิตเวชควบคู่ไปกันกับหมอผิวหนังหรือหมอเส้นผม จะเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด


วิธีรักษาโรคดึงผม

วิธีรักษาโรคดึงผม
วิธีรักษาโรคดึงผม

การรักษาโรคดึงผม นอกจากจะวินิจฉัยให้ได้แล้ว การบอกการวินิจฉัยหรือชี้ให้เห็นว่าคนไข้มีภาวะดึงผมจะช่วยให้คนไข้เตือนตัวเองทุกครั้งที่จะดึงผมตัวเอง หลักๆของการรักษาโรคดึงผมคือการใช้พฤติกรรมบำบัด อาจจะมีการจดว่าเราจับหรือดึงผมต่อวันกี่ครั้ง เพื่อเพิ่มการรู้พฤติกรรมตัวเอง หารให้ความมั่นใจว่าถ้าไม่ดึงผมจะค่อยๆกลับมาขึ้นใหม่ได้ หากคนไข้มีอาการคันอาจจะช่วยให้ยาหรือแชมพูลดการอักเสบช่วยไปด้วย หรือในระหว่างที่ผมไม่ขึ้นอาจจะแนะนำการจัดแต่งทรงผมช่วยพรางตา หรือ ใส่หมวกหรือผ้าคลุมผมช่วย จะได้ช่วยเสริมความมั่นใจของคนไข้

การรักษาทางจิตเวชไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยปรับเปลี่ยนความคิด การผ่อนคลายความเครียดหรือความกังวล การใช้พฤติกรรมบำบัด และการรับประทานยากลุ่มผ่อนคลายความเครียดจะช่วยให้คนไข้สามารถลดความเครียดได้ดีขึ้น และเป็นการรักษาที่ถาวร

เพราะถ้าคนไข้ดึงผมจนเกิดแผลเป็น อาจจะไม่มีผมขึ้นบริเวณนั้นอีกได้ อาจจะต้องรักษาด้วยการปลูกผมแทน


วิธีบรรเทาอาการโรคดึงผมตัวเองเบื้องต้น

การผ่อนคลายความเครียดนอกจากการพูดคุยกับจิตแพทย์ ก็อาจจะมีวิธีการปรับพฤติกรรมบางอย่างหรือการดึงดูดความสนใจตัวเอง และช่วยลดพฤติกรรมการดึงผมได้ เช่น

  • ใช้ลูกบอลบีบคลายเครียด หรือของเล่นเสริมสร้างสมาธิอื่นๆ (Fidget toys)
  • ใส่บีนนี่ หรือผ้าโพกหัว
  • จดไดอารี่
  • ฝึกหายใจลึกๆ เพื่อสร้างสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด จนกว่าความอยากดึงผมจะหายไป
  • ออกกำลังกาย

โรคดึงผมตัวเอง รักษาที่ไหนดี

ป่วยเป็นโรคดึงผม ควรรักษาที่ไหน
โรคดึงผมตัวเอง รักษาที่ไหนดี

โรคดึงผมเป็นพฤติกรรมที่รักษาได้เพียงแต่ควรได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และควรได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่การดึงผมจะทำลายรากผมไปจนหมด หากกำลังกังวลว่ามีภาวะโรคดึงผมหรือไม่ สามารถปรึกษาคุณหมอแก้ว พญ.ธาริณี ก่อวิริยกมล ได้ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic คุณหมอยินดีตรวจให้คำปรึกษาค่ะ


สรุป โรคดึงผมตัวเองรักษาหายไหม

โรคดึงผมเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ตอบสนองต่อความเครียดหรือวิตกกังวลของคนไข้ ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว มักสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ภาวะย้ำคิดย้ำทำ หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ยังเป็นไม่เยอะรากผมที่ดึงไม่ถูกทำลายจนเป็นแผลเป็น ผมจะสามารถกลับได้เป็นปกติเหมือนเดิม ดังนั้นหากกำลังกังวลว่ามีภาวะโรคดึงผมหรือไม่ สามารถปรึกษาคุณหมอแก้ว พญ.ธาริณี ก่อวิริยกมล ได้ที่ Dr.Tarinee Hair Clinic คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเส้นผม และการปลูกผม ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

Website : Dr.Tarinee Hair Clinic

Line : @drtarinee 

Facebook : Dr.Tarinee Hair Clinic ปลูกผม รักษา ผมร่วง ผมบาง


Ref

Scalp Pain When Moving Hair: Causes, Treatment, and Prevention (healthline.com)

Trichotillomania (hair pulling disorder) – NHS (www.nhs.uk)